นางคริสติน ลาการ์ด
ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)
กล่าวในระหว่างงานสัมมนาร่วมระหว่างธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB)
และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Thailand ADB-IMF Conference) ภายใต้หัวข้อ “ทางเดินสู่เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจโลก”
(Towards a More Stable Global Economic System) โดยมีผู้นำองค์กรทั้งสองเข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่า เท่าที่มีการประเมินสถานการณ์ภูมิภาคเอเชีย
พบว่าพื้นฐานการคลังยังเข้มแข็ง บริษัทมีหนี้ทางการค้าที่ยังคงเป็นหนี้ที่ดี
และไม่สูงมากนัก แต่ก็ยอมรับว่า
เศรษฐกิจเอเชียจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจของยุโรป และสหรัฐอเมริกา
ที่มีปัญหามาก
ดังนั้น ในวันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม 2555 ทางไอเอ็มเอฟ จะทบทวนตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง เนื่องมาจาก 2 ปัจจัย จากปัญหาของสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาที่มีมาก โดยในส่วนปัญหาของสหรัฐ อเมริกา มี 2 กรณี ได้แก่ สหรัฐอเมริกาขยายเพดานหนี้ในทุกปี ส่งผลให้ดุลการคลังขาดดุล
ดังนั้น ในวันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม 2555 ทางไอเอ็มเอฟ จะทบทวนตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง เนื่องมาจาก 2 ปัจจัย จากปัญหาของสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาที่มีมาก โดยในส่วนปัญหาของสหรัฐ อเมริกา มี 2 กรณี ได้แก่ สหรัฐอเมริกาขยายเพดานหนี้ในทุกปี ส่งผลให้ดุลการคลังขาดดุล
ต่อเนื่อง
และมาตราการการเก็บภาษียังไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย ขณะเดียวกัน
เศรษฐกิจของสหรัฐยังขยายตัวไม่ดี
นอกจากนี้ ยังเป็นปัจจัยในส่วนของสหภาพยุโรป ก็มี2 เรื่องด้วย ได้แก่ปัญหาหนี้สาธารณะสูง และปัญหาวิกฤตสถาบันการเงิน เป็นสิ่งท้าทายที่ยูโรจะต้องแก้ปัญหาต่อไป อย่างไรก็ตามปัญหาของอียูยังเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ง่าย เนื่องจากมาตรการการรัดเข็มขัดของประเทศที่มีปัญหายังทำไม่ดีพอ รวมถึง การที่หลายประเทศมีพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เช่นประเทศเยอรมันที่เป็นประเทศที่เศรษฐกิจยังคงแข็งแรงจะสามารถปรับตัวได้ดีกว่า ขณะที่ประเทศที่มีปัญหาการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นคาดว่า ยังคงน่าจะมีปัญหาอีกต่อไป
ด้านนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธาน ADB กล่าวว่า เอเชียจะได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจาก เศรษฐกิจโลกที่ผันผวน รวมถึงความต้องการในตลาดโลก สินเชื่อ และความเชื่อมั่นที่ลดลง โดยทางADB คาดการณ์ว่าแนวโน้มการขยายตัวของเษศรษฐกิจโลกจากร้อยละ 7.2 ลงมาอยู่ที่ ร้อยละ6.5 เนื่องจากการส่งออกชะลอตัว
ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย อาทิ จีนและ อินเดีย ยังคงมีปัญหาแต่ไม่มากนัก เนื่องจากประเทศเหล่านี้ยังคงมีความต้องการในการอุปโภคบริโภคภายในประเทศสูง แต่ ADB ยังคงเป็นห่วงประเทศในเอเชียตะออกเฉียงใต้ ซึ่งเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินทุนไหลเข้า-ออกที่รวดเร็ว ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจเอเชีย ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่ทุกประเทศในเอเชียจะต้องรวมตัวกัน และช่วยกันแก้ปัญหาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง
นอกจากนี้ ยังเป็นปัจจัยในส่วนของสหภาพยุโรป ก็มี2 เรื่องด้วย ได้แก่ปัญหาหนี้สาธารณะสูง และปัญหาวิกฤตสถาบันการเงิน เป็นสิ่งท้าทายที่ยูโรจะต้องแก้ปัญหาต่อไป อย่างไรก็ตามปัญหาของอียูยังเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ง่าย เนื่องจากมาตรการการรัดเข็มขัดของประเทศที่มีปัญหายังทำไม่ดีพอ รวมถึง การที่หลายประเทศมีพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เช่นประเทศเยอรมันที่เป็นประเทศที่เศรษฐกิจยังคงแข็งแรงจะสามารถปรับตัวได้ดีกว่า ขณะที่ประเทศที่มีปัญหาการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นคาดว่า ยังคงน่าจะมีปัญหาอีกต่อไป
ด้านนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธาน ADB กล่าวว่า เอเชียจะได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจาก เศรษฐกิจโลกที่ผันผวน รวมถึงความต้องการในตลาดโลก สินเชื่อ และความเชื่อมั่นที่ลดลง โดยทางADB คาดการณ์ว่าแนวโน้มการขยายตัวของเษศรษฐกิจโลกจากร้อยละ 7.2 ลงมาอยู่ที่ ร้อยละ6.5 เนื่องจากการส่งออกชะลอตัว
ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย อาทิ จีนและ อินเดีย ยังคงมีปัญหาแต่ไม่มากนัก เนื่องจากประเทศเหล่านี้ยังคงมีความต้องการในการอุปโภคบริโภคภายในประเทศสูง แต่ ADB ยังคงเป็นห่วงประเทศในเอเชียตะออกเฉียงใต้ ซึ่งเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินทุนไหลเข้า-ออกที่รวดเร็ว ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจเอเชีย ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่ทุกประเทศในเอเชียจะต้องรวมตัวกัน และช่วยกันแก้ปัญหาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น