ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ภายหลังสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
ยกระดับจากเว็บไซต์ที่อยู่คู่กับนักลงทุนมายาวนาน กว่า 10 ปี ซึ่ง "ธันวา เลาหศิริวงศ์"
นั่งเป็นนายกสมาคม ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการส่งเสริมให้ความรู้แนวทางการลงทุนแบบ VI
ให้ถูกวิธี ซึ่งปัจจุบันสมาคมมีสมาชิกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกว่า 2,000
ราย
นับเป็นครั้งแรกที่สมาคมจัดสัมมนาเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ในหัวข้อ "กลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ" โดยวิทยากรที่คุ้นเคยในแวดวงคนเล่นหุ้น เริ่มจาก "อนุรักษ์ บุญแสวง" นักลงทุนที่มีพอร์ตหลักร้อยล้านบาทขึ้นไป ได้เล่าถึงหลักการลงทุนแบบ VI ว่า ราคาหุ้นสุดท้ายสะท้อนจากกำไรของธุรกิจเติบโตในอนาคต ดังนั้นความสนใจในหุ้นตัวหนึ่งจะเริ่มจากกำไรต้องเติบโตสูงเป็นอันดับแรก ดูประวัติย้อนหลัง 4-5 ปี ส่วนราคาหุ้นก็ต้องดูว่ายังต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง ด้านแหล่งที่มาของกำไรต้องยั่งยืน ไม่ใช่เพียงหุ้นที่มีวัฎจักรทำกำไรเติบโตดีได้แค่ช่วง 1-2 ปี
"ผมจะเจาะเข้าไปศึกษาแผนธุรกิจ หุ้นต้องมีคุณสมบัติเป็นธุรกิจที่ไม่มีสินค้าทดแทน เป็นสินค้าที่มีอำนาจในการขึ้นราคา และสามารถเจรจาต่อรองกับคู่ค้าได้สูง"
อนุรักษ์ บอกว่า ส่วนอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจคือกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เพราะผู้บริหารยังไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะได้งานหรือไม่ จึงประเมินรายได้ยาก
ต่อด้วย นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี นิยามการเลือกลงทุนต้องเป็น "หุ้นขั้นเทพ" จะชอบคล้าย "อนุรักษ์" ที่ชอบหุ้นที่ผลิตสินค้าที่ต้องกินต้องใช้ และมีอำนาจต่อรองสูง ขณะที่จังหวะเข้าลงทุน ก็ถือว่ามีความสำคัญมาก ซึ่งควรเข้าไปลงทุนก่อนคนอื่น หรือคาดการณ์ล่วงหน้า และสามารถซื้อลงทุนถือได้ใน 1 ปีพร้อมแนะกลุ่มสุขภาพ ธุรกิจค้าปลีกที่เป็นไฮเอนด์ ขณะที่กลุ่มไม่น่าลงทุนคือรับจ้างผลิต หรือ OEM จะไม่มีแบรนด์ตัวเอง อำนาจต่อรองต่ำ กระทบกำไร
นักลงทุนวีไอ "วิบูลย์ พึงประเสริฐ" เจ้าของผลงานหนังสือ "ตะแกรงร่อนหุ้น" เแนะว่า ถ้าตลาดปรับขึ้น หุ้นที่ถือก็ควรจะปรับขึ้นด้วย แต่หากตลาดปรับลง ถือเป็นจังหวะที่เราจะเก็บหุ้นได้ในราคาที่ถูกลง โดยเลือกธุรกิจที่มีความรู้และเข้าใจ ขั้นตอนถัดไปคือการวิเคราะห์งบการเงินและความสามารถในการแข่งขันของ อุตสาหกรรมและบริษัทโดยหุ้นที่น่าสนใจ คือ ธุรกิจที่เกาะธีม AEC ที่ค้าขายของประเทศสมาชิกไม่ต้องเสียภาษี การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี เช่น แพทย์ พยาบาล ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลน่าสนใจ เนื่องจากต้นทุนที่ลดลง เพราะสามารถจ้างบุคคลากรต่างประเทศด้วยค่าจ้างที่น่าจะถูกลง ส่วนอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจ ยังเป็นรับเหมาก่อสร้าง ด้วยสาเหตุเดียวกับ "อนุรักษ์"ให้ไว้มาที่เจ้าต้นตำรับวีไอ
"ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" บอกว่า ปัจจุบันเลือกหุ้นลงทุนยากขึ้น มีหุ้นดี แต่ราคาแพง โดยหุ้นที่อยู่ในพอร์ต ส่วนใหญ่เป็นหุ้นชั้นดีที่เน้นลงทุนระยะยาวไม่มีกำหนดเวลา และเห็นแนวโน้มอนาคตไกล ๆ ได้ ขณะที่หุ้นอีกส่วนที่ถือติดพอร์ต แต่จำนวนน้อย คือหุ้นที่คุณภาพอาจไม่ดีเท่าแบบแรก แต่ราคาถูก ซึ่งจะถือไม่นาน เมื่อราคาขึ้นระดับหนึ่งแล้วจะขาย ส่วนหุ้นที่ชอบคือมีลักษณะอำนาจเหนือคู่แข่ง และเพิ่มขึ้นเรื่อย มีธุรกิจเป็นเบอร์ 1 ครองมาร์เก็ตแชร์ที่สูง
"ดร.นิเวศน์" ชี้อุตสาหกรรมที่กำลังจะมาจริง ๆ ในไทยเริ่มมองยาก จึงหันมาลงทุนต่างประเทศ แต่ถ้าให้แนะนำหุ้นที่ไม่กระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค ผลิตน้ำ ส่วนอุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุนคือ Pure Community ได้แก่ เหล็ก ปิโตรฯ ถ่านหิน
นับเป็นครั้งแรกที่สมาคมจัดสัมมนาเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ในหัวข้อ "กลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ" โดยวิทยากรที่คุ้นเคยในแวดวงคนเล่นหุ้น เริ่มจาก "อนุรักษ์ บุญแสวง" นักลงทุนที่มีพอร์ตหลักร้อยล้านบาทขึ้นไป ได้เล่าถึงหลักการลงทุนแบบ VI ว่า ราคาหุ้นสุดท้ายสะท้อนจากกำไรของธุรกิจเติบโตในอนาคต ดังนั้นความสนใจในหุ้นตัวหนึ่งจะเริ่มจากกำไรต้องเติบโตสูงเป็นอันดับแรก ดูประวัติย้อนหลัง 4-5 ปี ส่วนราคาหุ้นก็ต้องดูว่ายังต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง ด้านแหล่งที่มาของกำไรต้องยั่งยืน ไม่ใช่เพียงหุ้นที่มีวัฎจักรทำกำไรเติบโตดีได้แค่ช่วง 1-2 ปี
"ผมจะเจาะเข้าไปศึกษาแผนธุรกิจ หุ้นต้องมีคุณสมบัติเป็นธุรกิจที่ไม่มีสินค้าทดแทน เป็นสินค้าที่มีอำนาจในการขึ้นราคา และสามารถเจรจาต่อรองกับคู่ค้าได้สูง"
อนุรักษ์ บอกว่า ส่วนอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจคือกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เพราะผู้บริหารยังไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะได้งานหรือไม่ จึงประเมินรายได้ยาก
ต่อด้วย นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี นิยามการเลือกลงทุนต้องเป็น "หุ้นขั้นเทพ" จะชอบคล้าย "อนุรักษ์" ที่ชอบหุ้นที่ผลิตสินค้าที่ต้องกินต้องใช้ และมีอำนาจต่อรองสูง ขณะที่จังหวะเข้าลงทุน ก็ถือว่ามีความสำคัญมาก ซึ่งควรเข้าไปลงทุนก่อนคนอื่น หรือคาดการณ์ล่วงหน้า และสามารถซื้อลงทุนถือได้ใน 1 ปีพร้อมแนะกลุ่มสุขภาพ ธุรกิจค้าปลีกที่เป็นไฮเอนด์ ขณะที่กลุ่มไม่น่าลงทุนคือรับจ้างผลิต หรือ OEM จะไม่มีแบรนด์ตัวเอง อำนาจต่อรองต่ำ กระทบกำไร
นักลงทุนวีไอ "วิบูลย์ พึงประเสริฐ" เจ้าของผลงานหนังสือ "ตะแกรงร่อนหุ้น" เแนะว่า ถ้าตลาดปรับขึ้น หุ้นที่ถือก็ควรจะปรับขึ้นด้วย แต่หากตลาดปรับลง ถือเป็นจังหวะที่เราจะเก็บหุ้นได้ในราคาที่ถูกลง โดยเลือกธุรกิจที่มีความรู้และเข้าใจ ขั้นตอนถัดไปคือการวิเคราะห์งบการเงินและความสามารถในการแข่งขันของ อุตสาหกรรมและบริษัทโดยหุ้นที่น่าสนใจ คือ ธุรกิจที่เกาะธีม AEC ที่ค้าขายของประเทศสมาชิกไม่ต้องเสียภาษี การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี เช่น แพทย์ พยาบาล ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลน่าสนใจ เนื่องจากต้นทุนที่ลดลง เพราะสามารถจ้างบุคคลากรต่างประเทศด้วยค่าจ้างที่น่าจะถูกลง ส่วนอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจ ยังเป็นรับเหมาก่อสร้าง ด้วยสาเหตุเดียวกับ "อนุรักษ์"ให้ไว้มาที่เจ้าต้นตำรับวีไอ
"ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" บอกว่า ปัจจุบันเลือกหุ้นลงทุนยากขึ้น มีหุ้นดี แต่ราคาแพง โดยหุ้นที่อยู่ในพอร์ต ส่วนใหญ่เป็นหุ้นชั้นดีที่เน้นลงทุนระยะยาวไม่มีกำหนดเวลา และเห็นแนวโน้มอนาคตไกล ๆ ได้ ขณะที่หุ้นอีกส่วนที่ถือติดพอร์ต แต่จำนวนน้อย คือหุ้นที่คุณภาพอาจไม่ดีเท่าแบบแรก แต่ราคาถูก ซึ่งจะถือไม่นาน เมื่อราคาขึ้นระดับหนึ่งแล้วจะขาย ส่วนหุ้นที่ชอบคือมีลักษณะอำนาจเหนือคู่แข่ง และเพิ่มขึ้นเรื่อย มีธุรกิจเป็นเบอร์ 1 ครองมาร์เก็ตแชร์ที่สูง
"ดร.นิเวศน์" ชี้อุตสาหกรรมที่กำลังจะมาจริง ๆ ในไทยเริ่มมองยาก จึงหันมาลงทุนต่างประเทศ แต่ถ้าให้แนะนำหุ้นที่ไม่กระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค ผลิตน้ำ ส่วนอุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุนคือ Pure Community ได้แก่ เหล็ก ปิโตรฯ ถ่านหิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น