คุณเคยประสบปัญหาเช่นนี้บ้างไหม...
- ลืมสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำ คือ
มักลืมในสิ่งที่ไม่น่าจะลืม เช่น ลืมปิดน้ำ ลืมปิดไฟ ผิดนัดสำคัญ
ลืมว่าต้องไปจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
ซึ่งกว่าจะจำได้ก็เลยกำหนดเวลาชำระเงินไปแล้ว
- ลืมบุคคล คือ การจำชื่อคนไม่ได้
การจำหน้าคนที่รู้จักไม่ได้ ซึ่งอาการลืมบุคคลนี้ บางคนอาจจะจำได้แต่ชื่อ
บางคนอาจจะจำได้แต่หน้าตา
บางคนอาจจะอาการหนักถึงขั้นที่จำไม่ได้ทั้งชื่อและหน้าตาของคนที่รู้จักมัก
คุ้นเป็นอย่างดีหรือแม้กระทั่งจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเคยรู้จักคนๆนี้มาก่อน
- ลืมสถานที่ คือ การลืมทิศทาง
ไม่สามารถจดจำสถานที่ต่างๆที่ตนเองเคยไปได้ หรือจำไม่ได้ว่ากำลังจะไปที่ไหน
- ลืมบทเรียน ข้อ
นี้เป็นผลเสียต่อผู้ที่ยังอยู่ในวัยเรียนเป็นอย่างมาก คือ
การที่ไม่สามารถจดจำบทเรียนต่างๆที่ตนเองเคยเรียน เคยอ่านหรือเคยพยายามท่องจำ เช่น
สูตรคณิตศาสตร์ สูตรวิทยาศาสตร์ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
บางคนเป็นมากถึงขนาดที่พอคุณครูพูดยังไม่ทันจบประโยคก็ลืมเสียแล้ว
- ลืมเหตุการณ์ที่สำคัญ คือ
การลืมเหตุการณ์หรือวันสำคัญต่าง ๆ ในชีวิตที่ควรจดจำ เช่น
ลืมวันเกิดของตัวเองหรือของคนในครอบครัว ลืมวันครบรอบงานแต่งงาน
สาเหตุการหลงลืมมีได้หลายสาเหตุ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอายุ เรื่องสุขภาพร่างกาย ความเครียดและความวิตกกังวลต่างๆ
ปัญหาที่มีมากมายในชีวิตหรือการมีงานหลายอย่างที่ต้องจัดการ
ปัญหาการหลงลืมเกิดขึ้นได้กับทุกคน ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แต่ไม่ว่าอย่างไรมันก็เป็นเหตุให้รำคาญใจทั้งกับตนเองและผู้คนรอบข้าง
ผู้เขียนจึงขอนำเสนอวิธีช่วยคนขี้ลืมให้หายลืมแบบง่าย
ๆ มาฝาก ดังนี้
1.เขียนโน้ตติดไว้ในที่ ๆ เห็นชัดเจน เช่น ที่โต๊ะทำงาน
กระจกที่โต๊ะเครื่องแป้ง ตู้เย็น ทางเดินที่ต้องผ่านบ่อยๆ ในรถ โดยใช้กระดาษโน้ตหรือจะเป็นบอร์ดเล็กๆก็ได้
เลือกขนาดและสีสันที่มองเห็นได้ง่าย วิธีนี้เป็นวิธีเตือนความจำอย่างง่าย ๆ
ที่ได้ผลดีมากวิธีหนึ่งและเป็นวิธีแรกๆที่คุณหมอมักแนะนำให้ใช้ปฏิบัติ
2.ฝึกสมองอยู่เสมอ โดยการกระตุ้นให้สมองได้ทำงานและได้ออกกำลังผ่านทางกิจกรรมต่างๆ
เช่น เล่นเกมส์ เล่นดนตรี เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์
เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยทำให้สมองได้พัฒนากระบวนการคิดและช่วยฝึกในด้าน
ความจำเป็นอย่างดี
3.เล่นโยคะ ปัจจุบันมีผู้หันมาเล่นโยคะเพิ่มขึ้น
เพราะนอกจากกิจกรรมโยคะจะช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายดีขึ้นแล้ว
การควบคุมจังหวะการหายใจเข้าออก ยังช่วยทำให้เกิดสมาธิ
ซึ่งมีผลในการช่วยเรื่องของความจำที่ดีด้วย
4.ฝึกภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น
การเรียนภาษาเป็นวิธีการพัฒนาความจำได้ดีมากอีกวิธีหนึ่ง เพราะในการเรียนภาษาต่าง
ๆ นั้น การใช้ความจำก็มีความสำคัญมาก ทั้งการจำตัวอักษร การจำโครงสร้างไวยากรณ์ฯ
ดังนั้นเมื่อเราได้ฝึกเรียนภาษาอื่นจึงทำให้เราได้ฝึกใช้ความจำ
ซึ่งการฝึกภาษาต่างประเทศอาจทำโดยการฝึกด้วยตนเอง เช่น ซื้อหนังสือมาอ่าน หา DVDภาพยนตร์หรือเพลงต่างประเทศมาดูและฟัง
หรือการฝึกโดยอาศัยผู้อื่น เช่น สมัครเรียนที่โรงเรียนสอนภาษา
5. อย่าทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ถ้า
รู้ว่าตนเองเป็นคนที่ขี้หลงขี้ลืมและไม่ค่อยมีสมาธิสักเท่าไรก็ไม่ควรทำงาน
หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น ท่องหนังสือและดูทีวีไปพร้อม ๆ กัน
ซึ่งจะทำให้การท่องจำบทเรียนไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร พูดโทรศัพท์ในขณะขับรถ
นอกจากอาจจะทำให้หลงทางเสียเวลาแล้ว
อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุเพราะขาดสมาธิและไม่สามารถใช้ความระมัดระวังได้อย่าง
เต็มที่
6.มีสมุดบันทึก คนขี้ลืมทุกคนควรมีสมุดจดบันทึกพกติดตัวไว้เสมอ
โดยสามารถจดสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นไว้ในสมุดนี้
เช่นงานที่ต้องทำ การนัดหมายในแต่ละวัน ข้อมูลต่าง ๆ ของคนในครอบครัว เพื่อน
ลูกค้า เช่น วันเกิด เบอร์โทรศัพท์ หากจำอะไรไม่ได้ก็จะสามารถเปิดดูข้อมูลต่าง ๆ
ได้จากในสมุดบันทึกนี้
7.ท่องเที่ยวเพิ่มความจำ การเดินทางท่องเที่ยวเป็นการช่วยกระตุ้นความจำได้ดี
เพราะการไปยังสถานที่แปลก ๆ ใหม่ ๆ การได้พบเจอหรือสัมผัสกับผู้คน อากาศ สถานที่ ๆ
เราไม่คุ้นเคยจะทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น สนุกสนาน ช่วยให้สมองเปิดรับสิ่งใหม่ๆ
ซึ่งเป็นวิธีเสริมความจำดีอีกวิธีหนึ่ง
เพราะเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ความจำและกระตุ้นให้สมองของเราจดจำสิ่งต่าง ๆ
ได้ดีขึ้น
วิธีแก้ลืมทั้ง 7 ข้อนี้
ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโน้ตติดไว้ในที่ ๆ เห็นชัดเจน การฝึกสมองผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
เช่น เล่นเกมส์ เล่นดนตรี เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ การเล่นโยคะ
การฝึกภาษาต่างประเทศ การระวังที่จะไม่ทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
การมีสมุดบันทึกและการใช้เวลาว่างในการท่องเที่ยวเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ ๆ
และเพิ่มความจำให้กับสมอง เป็นวิธีการง่าย ๆ
ที่คุณทุกคนสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นประโยชน์และเชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาการ
ขี้ลืมให้แก่ทุกท่านได้อย่างเป็นผลดีไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Manager Online
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น