พอร์ตลงทุนเปลี่ยนจากพันธบัตรมุ่งตลาดหุ้น
พอร์ตลงทุนเปลี่ยนจากพันธบัตรมุ่งตลาดหุ้น
ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตร ซึ่งเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย
การจัดสรรพอร์ตทางยุทธศาสตร์กลับมายังหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรซึ่งเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย
ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในแนวโน้มการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในปีนี้
แต่ทฤษฎีดังกล่าวถูกท้าทาย
ทั้งจากภาวะขาลงของตลาดสหรัฐตั้งแต่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เกริ่นถึงความเป็นไปได้ที่จะลดมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน
และจากที่นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงไม่เข้ามาถือหุ้นเพิ่มขึ้น
ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันต่างชี้ว่าเงินทุนที่ขับเคลื่อนตลาดหุ้นอยู่ในขณะนี้มาจากตลาดเงิน
ไม่ใช่มาจากรายได้ประจำของนักลงทุน
สถิติล่าสุดของเฟดอาจเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นแรกที่สะท้อนว่าการไหลของเงินทุนจากตลาดพันธบัตรเข้าสู่ตลาดหุ้นอย่างมีนัยยะจากกองทุนบำเหน็จบำนาญสหรัฐ
เริ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีนี้
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากองทุนบำเหน็จบำนาญสหรัฐและบริษัทประกัน
ได้ซื้อหุ้นเป็นมูลค่าสุทธิ 1.3
หมื่นล้านดอลลาร์ และขายพันธบัตรเป็นมูลค่าสุทธิ 1
หมื่นล้านดอลลาร์
เจพี มอร์แกน
ชี้ว่าแม้การไหลของเงินทุนอาจจะคิดเป็นเพียงมูลค่าเล็กน้อย
แต่ได้เพิ่มสัดส่วนการถือตราสารทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญสหรัฐและบริษัทประกันเป็น 45% ในช่วงปลายไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งนับเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2550
นายแกรนต์ เบาวเวอร์ส ผู้จัดการพอร์ตจากแฟรงคลิน อิควิตี กรุ๊ป กล่าวว่า
นักลงทุนกำลังมองเห็นมูลค่าตอบแทนที่สูงกว่าในการลงทุนในตราสารทุน
แต่การโยกเงินลงทุนจากอีกตลาดหนึ่งสู่ตลาดหนึ่ง เป็นสิ่งที่จะดำเนินไปในช่วง 5-10 ปี ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงข้ามคืน
โดยแม้ตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างหนัก
แต่ผลตอบแทนสุทธิจากตราสารทุนก็ยังสูงกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว
จะพบว่าดัชนีตราสารทุน MSCI ปรับตัวสูงขึ้่น
8% ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลดลง 2.2% และผลตอบแทนหุ้นกู้บริษัทลดลง 1%
ขณะที่ข้อมูลจากแบงก์ออฟอเมริกา เมอร์ริล
ลินช์ เผยว่าเงินทุนไหลออกจากพันธบัตร 1.45
หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้ว
คิดเป็นมูลค่าการไหลออกที่มากที่สุดเป็นอันดับสองตั้งแต่เก็บสถิติมา
ส่วนเงินทุนไหลออกจากตราสารทุนนั้นมีเพียง 8.5
พันล้านดอลลาร์
กระนั้น กองทุนบำเหน็จบำนาญและบริษัทประกันก็กำลังเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์การลงทุน
หลังจากในช่วง 5
ปีที่ผ่านมาได้เข้าไปลงทุนในตลาดพันธบัตรเพื่อลดความเสี่ยงจากวิกฤติการเงินโลก
ความเคลื่อนไหวจากนักลงทุนระดับสถาบันรายใหญ่ของโลก
ทำให้มีการพูดกันมากถึงการถอนเงินทุนออกจากตลาดพันธบัตร
กองทุนความมั่งคั่งแห่งนอร์เวย์
ซึ่งปกติเป็นผู้ซื้อพันธบัตรรายใหญ่ แบ่งสัดส่วนพอร์ตการลงทุน 62.4% ไว้ในหุ้นซึ่งเป็นสัดส่วนที่เกือบจะสูงที่สุดของกองทุนดังกล่าว
ในขณะที่สัดส่วนการถือพันธบัตรลดลงมาอยู่ที่ 36.7%
ซึ่งต่ำเป็นประวัติการณ์ในปลายเดือนมีนาคม
ทางด้านกองทุนกองทุนบำเหน็จบำนาญสาธารณะญี่ปุ่น
ได้ประกาศเมื่ออาทิตย์ที่แล้วว่าจะเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นเป็น 12% จาก 11%
ในขณะที่จะลดสัดส่วนการถือพันธบัตรรัฐบาลจาก 67% มาอยู่ที่ 60%
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ