หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของ Turnover list

ความหมายของ Turnover list

การจัดทำ Turnover list มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงรายชื่อหุ้นที่มีอัตราการ ซื้อขายหมุนเวียนสูง อันแสดงว่าเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันมาก และอาจมีแนวโน้มนำไปสู่ ภาวะการซื้อขายที่ผิดปกติ โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกหุ้นดังนี้
ประเภท เกณฑ์ในการคัดเลือก
หุ้นที่ติด Turnover list 1W-Turnover >= 20% แต่ไม่เกิน 50 อันดับแรก
หุ้นที่ให้บริษัทหลักทรัพย์รายงาน
ต่อ ก.ล.ต.
1W-Turnover >= 20% และ P/E Ratio > 100 เท่าหรือ มีผลการดำเนินงาานขาดทุน
หรืออยู่ในหมวด Rehabco
ทั้งนี้ ไม่รวมหุ้น IPO ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์นับแต่วันที่หุ้นดังกล่าวเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ครั้งแรกและหุ้นที่มีมูลค่าซื้อเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
รายละเอียดวิธีการคำนวณ
วิธีการคำนวณ

โดยมูลค่าซื้อหุ้นรายสัปดาห์ หมายถึง ผลรวมของมูลค่าซื้อหุ้นทุกวันทำการในรอบสัปดาห์ ทั้งนี้ ในกรณีที่สัปดาห์ใดมีจำนวนวันน้อยกว่า 5 วันทำการ จะใช้มูลค่าซื้อหุ้นเฉลี่ยต่อวันคูณด้วย 5



market capitalization ของหุ้นเฉลี่ยต่อวัน หมายถึง [ ผลรวมของ market capitalization ทุกวันทำการในรอบสัปดาห์ / จำนวนวันทำการในรอบสัปดาห์ ] strategic shareholder2 หมายถึง ผู้ลงทุนที่ถือหุ้นเพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารหรือเพื่อเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ



โดย มูลค่าหุ้นตามราคาตลาด หมายถึง จำนวนหุ้นทั้งหมด * ราคาปิด ณ วันสิ้นสุดการคำนวณ กำไรสุทธิ 4 ไตรมาส หมายถึง กำไรสุทธิ 4 ไตรมาสล่าสุดที่บริษัทจดทะเบียนได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แล้ว ซึ่งมิใช่ประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียน

ระยะเวลาในการคำนวณ และการเปิดเผย Turnover list
สำนักงานจะใช้ข้อมูลในการจัดทำ Turnover list เป็นรายสัปดาห์ โดยเริ่มจากวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์จนถึงวันทำการก่อนวันสุดท้ายของสัปดาห์ถัดไป โดยจะเปิดเผยTurnover list ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ถัดไป กล่าวคือ ใช้ข้อมูลของวันศุกร์ถึงวันพฤหัสของสัปดาห์ถัดไป และจะเปิดเผย Turnover list ในวันศุกร์หลังตลาดหลักทรัพย์ปิดทำการซื้อขายทาง http://www.sec.or.th เลือก What's New หัวข้อ Turnover list




1 จำนวนหุ้นทั้งหมด หมายถึง จำนวนหุ้นของบริษัทที่ชำระแล้วทั้งหมด หักด้วยจำนวนหุ้นที่บริษัทรับซื้อคืน (treasury stocks)

2 strategic shareholder ได้แก่ ผู้ถือหุ้นประเภท ดังนี้

1. รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ 2. กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร 4 ระดับแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ 3. ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ยกเว้นผู้ถือหุ้นกลุ่มดังต่อไปนี้คือ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย กองทุนรวม และกองทุนที่ออมแบบมีภาระผูกพัน 4. ผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุม 5. ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลาที่กำหนด
 ที่มา: http://www.efinancethai.com/turnover/meanturnover.aspx

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตีโจทย์เงินทุนเคลื่อนย้าย ระวัง Sudden Stock


ผลกระทบจากนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ด้วยการเพิ่มปริมาณเงินในระบบผ่านการเข้าไปซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อให้ราคาลดลงควบคู่กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในให้ฟื้นตัวหลังประสบวิกฤต เป็นทั้งดอกไม้และก้อนอิฐที่โยนเข้ามาให้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างเอเชีย กลายเป็นประเด็นร้อนเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย

เมื่อเงินหมุนไป อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทเทียบดอลลาร์แข็งค่า สร้างปรากฏการณ์กลัวเงินร้อนจะก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจซ้ำรอย 16 ปีก่อนด้วยแล้ว ในฐานะสถาบันการศึกษาและเป็นเสาหลักของแผ่นดิน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดเสวนาเรื่อง "ผลกระทบของเงินทุนเคลื่อนย้าย และทางเลือกเชิงนโยบาย" ขึ้น

การเสวนาครั้งนี้เลือกผู้ร่วมเสวนาจากแบ็กกราวนด์ที่จะทำให้อรรถรสของการพูดคุยมีความน่าสนใจมากขึ้น

6 ปัจจัยดันเงินไหลเข้า

เริ่มจาก "ดร.จอน วงศ์สวรรค์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายเฮดจ์ฟันด์ สายงานลงทุนและค้าหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในยุคของ "อลัน กรีนสแปน" ก่อนที่สหรัฐจะเดินหน้าเข้าสู่แฮมเบอร์เกอร์ไครซิส เปิดประเด็นผ่านการอธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดทุนเคลื่อนย้ายจากมุมมองของนักลงทุนว่ามี 6 ข้อ

ประกอบด้วย
1) ปัจจัยเรื่องผลตอบแทน ที่ทุนจะไหลจากที่ผลตอบแทนต่ำไปสู่ที่มีผลตอบแทนสูง
2) ปัจจัยการบริหารความเสี่ยงด้วยการสร้างความหลากหลายในการลงทุน (Diversification) ให้ไม่กระจุกตัวในแหล่งใดแหล่งหนึ่งมากขึ้น
3) ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง ซึ่งระดับความเสี่ยงที่ต้องการ ณ จุดต่าง ๆ จะนำไปสู่การปรับพอร์ตของนักลงทุน

โดย 3 ปัจจัยแรกที่กล่าวมานั้นเป็นการมองลักษณะการลงทุน ส่วนอีก 3 ปัจจัยหลังจะทำให้เกิดการลงทุนจริง ๆ ซึ่งประกอบด้วย กฎหมาย ต้นทุนในการซื้อ-ขาย และความสามารถในการรับทราบข้อมูล

"ถ้าประเทศใดมีการผ่อนคลายกฎหมายกฎเกณฑ์การลงทุน มีต้นทุนการซื้อและขายที่เข้าง่าย-ออกง่าย ความคล่องตัวสูง หรือมีการเปิดเผยข้อมูลมาก เงินก็จะไหลเข้ามาก" ดร.จอนกล่าว

ขณะที่ผู้ร่วมเสวนาอีกท่าน "ดร.ปิติ ดิษยทัต" ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอาจารย์ที่ปรึกษาเมื่อครั้งทำปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ชื่อ "เบน เบอร์นันเก้" ซึ่งปัจจุบันคือผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐอธิบายว่า สถานการณ์ปัจจุบันเกิดขึ้นจากปัจจัยเชิงโครงสร้างกับปัจจัยเชิงวัฏจักร ในแง่ปัจจัยโครงสร้าง ยามสหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรปกำลังมีปัญหา ขณะที่กลุ่มประเทศเอเชียมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลก และยังมีช่องว่างของการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงได้มากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว จึงทำให้อัตราผลตอบแทนการลงทุนในประเทศเหล่านี้สูงขึ้น

"เมื่อพิจารณาผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหุ้น มีตัวอย่างน่าสนใจคือ ถ้าคุณถือเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ปี 1999 มาถึงปี 2011 แล้วนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนในอินเดียหรืออินโดนีเซียในเวลานี้ เงินที่ถืออยู่จะเพิ่มมูลค่าขึ้นเป็น 400 ดอลลาร์สหรัฐ คือเพิ่มขึ้น 4-5 เท่า ถ้าลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า แต่ถ้าลงทุนในสหรัฐและประเทศพัฒนาแล้วเงินจะมีมูลค่าอยู่ที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสะท้อนว่าประเทศกำลังพัฒนามีอัตราการขยายตัวและอัตราผลตอบแทนสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว"

ส่วนปัจจัยเชิงวัฏจักร ในภาพใหญ่เป็นผลมาจากนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ขณะที่ในภาพย่อยเป็นความรู้สึกต่อความเสี่ยงในการลงทุนของนักลงทุนที่มองว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่ำ เศรษฐกิจดี เงินจึงไหลเข้ามา

ทุนเคลื่อนย้ายเสี่ยงทั้งเข้าทั้งออก

แล้วเมื่อเกิดเงินทุนไหลเข้า จะก่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพใหญ่ 3 ด้าน กล่าวคือ

1) ทำให้เงินบาทแข็งค่ามากกว่าที่เป็นมา ซึ่งเรื่องนี้ในแง่หนึ่งเป็นเรื่องปกติของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะมีแนวโน้มค่าเงินแข็งค่าขึ้น ส่วนวิธีที่จะดูแลคือการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการเข้าแทรกแซงของแบงก์ชาติ

2) มีผลทำให้สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น จนเสี่ยงต่อการเกิดการโป่งพองของราคาสินทรัพย์ ซึ่งประสบการณ์จากหลายประเทศชี้ชัดว่า เงินทุนจะเคลื่อนย้ายไปพร้อมกับ

การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศปลายทาง ยิ่งเศรษฐกิจดี เงินยิ่งไหลเข้า แต่ความเสี่ยงอยู่ที่ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น เงินไหลเข้าไปเสริมเศรษฐกิจให้บูมขึ้น แต่ถ้าเงินไหลออกจะน่าเป็นห่วง

ด้วยเหตุนี้ในยามเศรษฐกิจดีจึงต้องใช้นโยบายการเงินผสมกับนโยบายกำกับสถาบันการเงิน (Macro prudential) เพื่อดูแลภาคการเงินให้แข็งแกร่ง และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสินทรัพย์ที่ปล่อยสินเชื่อ

ส่วนผลกระทบข้อ
3) การที่เงินไหลเข้าแล้วอยู่ ๆ ก็แห่กันไหลออก จนทำให้ตลาดหุ้นร่วงอย่างฉับพลัน หรือ Sudden Stock จนเป็นวิกฤต ดังนั้น การพิจารณาประเภทเงินทุนที่ไหลเข้ามาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าเข้ามาเป็นเอฟดีไอไม่น่าห่วง แต่ถ้าเข้ามาแบบเป็นเงินกู้ระยะสั้นจากต่างประเทศ อันนี้ต้องหามาตรการดูแล

นอกจากนี้ "ดร.ปิติ" ยังได้เสนอแนวทางรับมือหากเกิดการไหลออกของเงินจนทำให้ตลาดหุ้นร่วงฉับพลันว่า ต้องเริ่มจากการทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์แข็งแกร่ง เพราะจะช่วยบรรเทาปัญหาต่อมา คือ ต้องทำให้มีพื้นที่การคลัง (Fiscal Space) ที่เพียงพอสำหรับการเข้ามากอบกู้เมื่อเกิดวิกฤต

ดังนั้น คลังจึงต้องรักษาพื้นที่การคลังเพื่อให้ยามเกิดสถานการณ์เลวร้าย แบงก์เจ๊ง คลังยังสามารถเข้าไปช่วยรับภาระได้ข้อเสนอที่ 3 ต้องพัฒนาปัจจัยเชิงสถาบันที่เข้มแข็ง เพื่อให้ตลาดมีการพัฒนา และเมื่อเกิดปัญหาปัจจัยเชิงสถาบันจะเข้ามากอบกู้สถานการณ์ได้ แล้วการสร้างปัจจัยเชิงสถาบันให้แข็งแกร่งจะส่งผลดีในระยะยาว เมื่อวิกฤตคลี่คลาย เงินทุนก็จะกลับเข้ามา เพราะนักลงทุนที่มองระยะยาวจะมองไปที่ปัจจัยพื้นฐานของประเทศมากกว่า

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
 http://www.prachachat.net/news_detai...&subcatid=0902

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

แนวทางการลงทุนในหุ้นให้ประสบผลสำเร็จ (สำหรับมือใหม่)


1.ต้องมีความรู้

ต้องศึกษาความรู้ทางด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ต้องศึกษาแนวทางการลงทุนในทุกแนวทางที่คุณสามารถหาอ่านได้ ซึ่งจะทำให้คุณมองเห็นข้อดี ข้อเสีย และมองเห็นหลักการที่เหมาะสมกับตนเอง และเมื่อลงมือปฏิบัติก็ควรให้ความยืดหยุ่นกับหลักการที่ได้สั่งสมมาให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ที่เกิดขึ้น ... การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตนเองและเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ที่ประสบผลสำเร็จและล้มเหลวจะช่วยให้คุณมีมุมมองที่กว้างขึ้น

2.ต้องมีเงินลงทุน

เงินลงทุนเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่ส่งผลต่อแผนการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง เช่น ถ้ามีเงินลงทุนน้อย การปรับเปลี่ยนพอร์ตฯ ก็เป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าไม่มีเงินเลยก็ต้องบังคับให้ไปเล่นในเงื่อนไขที่ยากขึ้น ซึ่งก็เสี่ยงสูง, สำหรับผู้ที่มีเงินลงทุนค่อนข้างเยอะ การเข้าซื้อขาย การปรับเปลี่ยนพอร์ตฯ จะยากขึ้นตามจำนวนเงินลงทุนกับสภาพคล่องของปริมาณการซื้อขายต่อวันหรือต่อหุ้นของบริษัทนั้นๆ

... ควรระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีใครสามารถล่วงรู้อนาคตได้ ดังนั้นการวางแผนเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตย่อมทำให้คุณได้เปรียบกว่า

3.ต้องมีเวลาติดตามการลงทุน

ไม่มีการลงทุนในกิจการใด ที่คุณลงทุนไปแล้วไม่ต้องติดตามผลการลงทุนแล้วคุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีได้ตามที่หวังไว้
คุณต้องให้เวลาในการลงทุนให้เหมือนหรือเทียบเท่ากับการเปิดกิจการของตนเอง...ผลลัพธ์จากการลงทุนเหมือนเป็นตัวสะท้อนความพยายามที่คุณให้กับมัน อย่าลืมว่าคุณกำลังลงทุนให้กับตัวเองและครอบครัว

4.ต้องรู้จักบริหารจัดการเงินลงทุนให้เหมาะสมกับเวลาและเป้าหมายการลงทุนที่คุณได้วางแผนไว้

ณ ที่นี้จะหมายถึงให้นำข้อ 1 ถึง 3 มารวมเข้าด้วยกัน และบริหารจัดการให้เหมาะสม หรืออาจพูดง่ายๆ ก็คือต้อง ถูกที่ ถูกเวลา และให้เหมาะสมกับพอร์ตฯ การลงทุน ความรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่ในขณะนั้น

>>> สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ แผนการลงทุนจะแบ่งออกเป็นกี่แบบก็ตาม แผนการลงทุนดังกล่าวควรสอดคล้องกับเป้าหมายของตัวคุณเอง

เช่น เป้าหมายของการลงทุนของคุณก็คือ ต้องการมีอิสระภาพทางการเงิน

ดังนั้น แผนการลงทุน...อาจแบ่งออกเป็น

แผนการลงทุนระยะสั้น เทรดแบบเก็งกำไร และนำกำไรที่ได้ไปซื้อหุ้นต้นทุนเป็นศูนย์เพื่อรับปันผล (ในแผนการลงทุนระยะยาว) และเมื่อพอร์ตฯ ขยายใหญ่ขึ้น คุณก็จะสามารถรับปันผลจากหุ้นต้นทุนเป็นศูนย์ได้มากพอกับรายจ่าย ซึ่งจะส่งผลให้คุณมีอิสระภาพทางการเงินในที่สุด (ตามเป้าหมายของการลงทุนที่ได้วางไว้)  

ที่มา: